ทะเลสาบอินเล เป็นทะเลสาบน้ำจืดตั้งอยู่ในรัฐฉาน อยู่ห่างจากเมืองตองยีประมาณ 25 กิโลเมตร ในประเทศพม่า เป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับสองของพม่า
ทะเลสาบแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนที่เรียกตนเองว่า ชาวอินทา (Intha) ชนเผ่านี้อาศัยอยู่ในทะเลสาบอินเลมานานนับร้อยปีแล้ว โดยใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางการทำการเกษตรบนเกาะวัชพืชที่พวกเขาสร้างขึ้นมาเองกลางลำน้ำในทะเลสาบ
รถจากย่างกุ้งมาถึงท่ารถ ประมาณ ตี 4 เราลงแบบง่วง ก็มีคนมาติดต่อเรื่องลดที่จะเข้าไปเมือง ยองชเว เมืองท่า ก่อนจะเข้าอินเล พอดีเขาบอกว่า มีคนรอแชร์แท็กซี่อยู่เลยเข้าไปคุยด้วย ลุง กับ ป้า เป็นชาวฝรั่งเศล เราคุยไม่ได้ เลยเงียบ ปล่อยผู้รู้ให้เขาคุยกัน พอเข้าไปแล้ว จ่ายคนละ 10 ดอลล่าห์ ค่าเข้าอินเล
เช้ามืดวันนี้ ที่พักเต็มไปหมดเลย จนมาได้ที่สุดท้าย ชื่อบิ๊กโดม ราคา 16 เหรียญ พอใจมากใกล้ท่าเรือเลย
เป็นส่วนตัวดีมาก ส่วนลุงป้า เลือกพักที่แรก เจ้าของเดียวกัน แต่อยู่คนละฝั่ง
วันแรกไปดูรอบๆ ดีกว่า ชอบอินเล เพราะอากาศดีกว่าย่างกุ้งมาก
อาหารเช้าที่โรงแรม
พระบัวเข็ม ที่ วัดผ่องดออู
พระบัวเข็ม” ลักษณะสำคัญนั้น เป็นพระที่แกะขึ้นจากกิ่งไม้พระศรีมหาโพธิ์ ลงรักปิดทองเป็นรูปพระเถระนั่งก้มหน้ามีใบบัวคลุมศีรษะ และมีเข็มหมุดปักอยู่ตามตัวหลายแห่ง นั่งอยู่บนฐานดอกบัวหงาย ดอกบัวคว่ำรองรับ เมื่อหงายใต้ฐานดูจะพบลายลักษณ์ปั้นทรงนูนต่ำรูปดอกบัวใบบัวและรูปปลา
ที่เรียกว่า “พระบัวเข็ม” คือ รูปพระอุปคุตเถระเรื่องราวของพระบัวเข็มไม่ค่อยปรากฏเป็นที่ทราบกันโดยทั่ว ไปในเมืองไทย เหมือนพระพุทธรูปองค์อื่นๆ เพราะพระบัวเข็มเข้ามาแพร่หลายในประเทศไทยเมื่อปลายสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้ เพราะเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงผนวช ทรงสนิทสนมกับพระภิกษุชาวมอญมาก โดยทรงศึกษาประวัติพระพุทธศาสนา และพระธรรมวินัย จากพระภิกษุชาวมอญทรงแตกฉานในพระธรรมวินัยทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก และด้วยการที่ทรงติดต่อคุ้นเคยกับพระภิกษุชาวมอญมาโดยตลอด
เมื่อพระ ภิกษุชาวมอญเข้าเฝ้าที่วัดบวรนิเวศฯ ครั้งใด ก็มักนำพระบัวเข็มเข้ามาถวายอยู่เนืองๆ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบประวัติความเป็นมาของพระบัวเข็ม มากกว่าบุคคลใดในสมัยนั้น จนถึงทรงยอมรับพระบัวเข็มเข้าในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ (พิธีขอฝน) พระบัวเข็มนี้ถือกันว่าเป็นพระที่มีความศักดิ์สิทธิ์ อภินิหาร ในทางชนะศัตรูหมู่มาร และในทางบังเกิดความอุดมสมบูรณ์ ลาภสักการะ ความร่ำรวยอย่างยิ่งแก่ผู้เคารพบูชาซึ่งรูปลักษณะการปฏิบัติบูชาก็แปลกแตก ต่างจากพระอื่น
การสร้างรูปเคารพของพระบัวเข็มนั้นมีรูปลักษณะที่แตก ต่างกันอยู่มากตามแต่ ผู้สร้างจะคิดประดิษฐ์รูปลักษณะตามประวัติแล้ว จัดสร้างขึ้นในอากัปกิริยาตามอิทธิปาฏิหาริย์ของพระอุปคุตเหลือที่จะพรรณนา ได้ เช่นเดียวกับการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ ทั่วไปเหมือนกัน เท่าที่สังเกตพระบัวเข็มในประเทศไทย แบ่งออกได้ 2 แบบ คือแบบมอญแบบหนึ่ง และแบบพม่าแบบหนึ่ง พระบัวเข็มทั้งสองแบบนี้คงอาศัยรูปแบบของพระบัวเข็มในอินเดียเป็นหลักสำคัญ แต่มาแก้ไขเปลี่ยนแปลงขึ้นตามความนิยมในประเทศมอญและพม่า
พระบัวเข็ม” ลักษณะสำคัญนั้น เป็นพระที่แกะขึ้นจากกิ่งไม้พระศรีมหาโพธิ์ ลงรักปิดทองเป็นรูปพระเถระนั่งก้มหน้ามีใบบัวคลุมศีรษะ และมีเข็มหมุดปักอยู่ตามตัวหลายแห่ง นั่งอยู่บนฐานดอกบัวหงาย ดอกบัวคว่ำรองรับ เมื่อหงายใต้ฐานดูจะพบลายลักษณ์ปั้นทรงนูนต่ำรูปดอกบัวใบบัวและรูปปลา
ที่เรียกว่า “พระบัวเข็ม” คือ รูปพระอุปคุตเถระเรื่องราวของพระบัวเข็มไม่ค่อยปรากฏเป็นที่ทราบกันโดยทั่ว ไปในเมืองไทย เหมือนพระพุทธรูปองค์อื่นๆ เพราะพระบัวเข็มเข้ามาแพร่หลายในประเทศไทยเมื่อปลายสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้ เพราะเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงผนวช ทรงสนิทสนมกับพระภิกษุชาวมอญมาก โดยทรงศึกษาประวัติพระพุทธศาสนา และพระธรรมวินัย จากพระภิกษุชาวมอญทรงแตกฉานในพระธรรมวินัยทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก และด้วยการที่ทรงติดต่อคุ้นเคยกับพระภิกษุชาวมอญมาโดยตลอด
เมื่อพระ ภิกษุชาวมอญเข้าเฝ้าที่วัดบวรนิเวศฯ ครั้งใด ก็มักนำพระบัวเข็มเข้ามาถวายอยู่เนืองๆ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบประวัติความเป็นมาของพระบัวเข็ม มากกว่าบุคคลใดในสมัยนั้น จนถึงทรงยอมรับพระบัวเข็มเข้าในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ (พิธีขอฝน) พระบัวเข็มนี้ถือกันว่าเป็นพระที่มีความศักดิ์สิทธิ์ อภินิหาร ในทางชนะศัตรูหมู่มาร และในทางบังเกิดความอุดมสมบูรณ์ ลาภสักการะ ความร่ำรวยอย่างยิ่งแก่ผู้เคารพบูชาซึ่งรูปลักษณะการปฏิบัติบูชาก็แปลกแตก ต่างจากพระอื่น
การสร้างรูปเคารพของพระบัวเข็มนั้นมีรูปลักษณะที่แตก ต่างกันอยู่มากตามแต่ ผู้สร้างจะคิดประดิษฐ์รูปลักษณะตามประวัติแล้ว จัดสร้างขึ้นในอากัปกิริยาตามอิทธิปาฏิหาริย์ของพระอุปคุตเหลือที่จะพรรณนา ได้ เช่นเดียวกับการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ ทั่วไปเหมือนกัน เท่าที่สังเกตพระบัวเข็มในประเทศไทย แบ่งออกได้ 2 แบบ คือแบบมอญแบบหนึ่ง และแบบพม่าแบบหนึ่ง พระบัวเข็มทั้งสองแบบนี้คงอาศัยรูปแบบของพระบัวเข็มในอินเดียเป็นหลักสำคัญ แต่มาแก้ไขเปลี่ยนแปลงขึ้นตามความนิยมในประเทศมอญและพม่า
“พระบัว เข็ม” เป็นหนึ่งในห้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวพม่าที่ชาวพุทธนิยมเดินทางไปกราบไหว้ ขอพร ประดิษฐานอยู่ที่วัดผ่องดออู บริเวณริมทะเลสาบอินเล ประเทศพม่า ชาวพุทธไทยไปกราบไหว้ขอพรแล้วประสบความสำเร็จ จึงขออนุญาตทางวัดนี้ เพื่อสร้างองค์พระบัวเข็มจำลองมาประดิษฐานที่เมืองไทย
ตามความเชื่อ ของชาวพม่า การสร้างพระบัวเข็มจำลอง จะต้องทำจากต้นโพธิ์ที่มีอายุ 100 ปี ขึ้นไป ซึ่งยืนต้นแห้งเองไปตามธรรมชาติ เมื่อสร้างเสร็จจะนำพระบัวเข็ม ประดิษฐานบนเรือการะเวก ซึ่งมีรูปร่างเหมือนนกการะเวก ล่องเรือไปกลางทะเลสาบอินเล โดยเลือกวันพระขึ้น 15 ค่ำ ประกอบพิธีบวงสรวงเทพยดา พุทธาภิเษก ซึ่งมีทั้งพระสงฆ์พม่าและพระสงฆ์ไทย เจริญพระพุทธมนต์ และเจริญจิตตภาวนา
ไพศาล คุนผลิน และญาติธรรม พร้อมผู้บริหาร บริษัทไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด เดินทางไปประเทศพม่า มีจิตศรัทธาสร้าง “พระบัวเข็ม ชนะมาร บันดาลโชค” พร้อมประกอบพิธีพุทธาภิเษก แล้วนำมาถวายวัดเทวราชกุญชร กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 โดย พระเทพคุณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร พร้อมด้วยคณะสงฆ์ ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตตภาวนา พุทธาภิเษกใหญ่อีกครั้ง และนำพระบัวเข็มประดิษฐานถาวรไว้ที่มณฑปจัตุรมุข วัดเทวราชกุญชร ให้สาธุชนได้สักการบูชา เพื่อความสิริมงคล มีชัยชนะศัตรูหมู่มาร และบังเกิดความอุดมสมบูรณ์ร่ำรวยด้วยลาภสักการะสืบไป
ตามความเชื่อ ของชาวพม่า การสร้างพระบัวเข็มจำลอง จะต้องทำจากต้นโพธิ์ที่มีอายุ 100 ปี ขึ้นไป ซึ่งยืนต้นแห้งเองไปตามธรรมชาติ เมื่อสร้างเสร็จจะนำพระบัวเข็ม ประดิษฐานบนเรือการะเวก ซึ่งมีรูปร่างเหมือนนกการะเวก ล่องเรือไปกลางทะเลสาบอินเล โดยเลือกวันพระขึ้น 15 ค่ำ ประกอบพิธีบวงสรวงเทพยดา พุทธาภิเษก ซึ่งมีทั้งพระสงฆ์พม่าและพระสงฆ์ไทย เจริญพระพุทธมนต์ และเจริญจิตตภาวนา
ไพศาล คุนผลิน และญาติธรรม พร้อมผู้บริหาร บริษัทไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด เดินทางไปประเทศพม่า มีจิตศรัทธาสร้าง “พระบัวเข็ม ชนะมาร บันดาลโชค” พร้อมประกอบพิธีพุทธาภิเษก แล้วนำมาถวายวัดเทวราชกุญชร กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 โดย พระเทพคุณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร พร้อมด้วยคณะสงฆ์ ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตตภาวนา พุทธาภิเษกใหญ่อีกครั้ง และนำพระบัวเข็มประดิษฐานถาวรไว้ที่มณฑปจัตุรมุข วัดเทวราชกุญชร ให้สาธุชนได้สักการบูชา เพื่อความสิริมงคล มีชัยชนะศัตรูหมู่มาร และบังเกิดความอุดมสมบูรณ์ร่ำรวยด้วยลาภสักการะสืบไป